บูรณาการดอกบัว
ดอกบัว เป็นพืชน้ำล้มลุก ลักษณะลำต้นมีทั้งที่เป็นเหง้า ไหล หรือหัว ใบเป็นใบเดี่ยวเจริญขึ้นจากลำต้น โดยมีก้านใบส่งขึ้นมาเจริญที่ใต้น้ำ ผิวน้ำหรือเหนือน้ำ รูปร่างของใบส่วนใหญ่กลมมีหลายแบบ บางชนิดมีก้านใบบัวและผิวบัวยังมีลักษณะเป็นมันวาวอีกด้วยบัวเป็นราชินีแห่งไม้น้ำ จัดเป็นพันธุ์ไม้น้ำที่ถือเป็นสัญญลักษณ์ของคุณงามความดี บัวหลวงชอบขึ้นในน้ำจืดออกดอกตลอดปี ชอบน้ำสะอาด อยู่ในน้ำลึกพอสมควร ถิ่นกำเนิดของบัวอยู่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จะเริ่มบานตั้งแต่ตอนเช้า ก้านดอกยาวมีหนามเหมือนก้านใบ ชูดอกเหนือน้ำ และชูสูงกว่าใบเล็กน้อย กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ สีขาวอมเขียวหรือสีเทาชมพู ร่วงง่าย กลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนหลายชั้น เกสรตัวผู้มีจำนวนหลายสี
ในสัญลักษณ์ และความเชื่อ
บัวมีมาตั้งแต่ สมัยพุทธกาล ซึ่งมีตำนานกล่าวว่า หมอชีวกโกมารภัจจ์ ได้ปรุงยาจากดอกบัว ถวายแด่ องค์สมเด็จพระพุทธเจ้า แก้อาการอ่อนเพลีย ถือว่าดอกบัวเป็น ดอกไม้ประจำศาสนาพุทธ ตามพุทธประวัติพบว่า บัวมีส่วนเกี่ยวข้องตั้งแต่ เมื่อพระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพาน เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเมื่อ ได้ทรงตรัสรู้แล้ว แต่เนื่องจากพระธรรมที่พระองค์ทรงบรรลุนั้นมีความละเอียดอ่อน สุขุมคัมภีรภาพ ยากต่อบุคคลจะรู้ เข้าใจและปฏิบัติได้ ทรงพิจารณาอย่างลึกซึ้ง แล้วทรงเห็นว่าบุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวก บางพวกสอนได้ บางพวกสอนไม่ได้ เปรียบเสมือนบัวสี่เหล่า คนไทยส่วนใหญ่มักจะใช้ดอกบัว ในการบูชาพระอยู่เสมอ แต่บัวที่เรานิยมปลูกไว้ภายในบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคล คือ บัวหลวง บัวผัน บัวฝรั่ง บัวสาย และบัวกระด้งความเชื่อในทางพุทธศาสนา ตั้งแต่สมัยโบราณว่า ดอกบัวก็เหมือนกับคนเรานี้เอง ดอกบัวที่ชูดอกพ้นจากผิวน้ำขึ้นมารับแสงสว่างได้นั้น ก็เหมือนกับ ผู้ที่หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง กลายเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม ซึ่งถือเป็นความหมายอันลึกซึ้ง และเป็นมงคลยิ่งนักคนโบราณจึงมึความเชื่อว่า ครอบครัวใดที่ปลูกบัวเอาไว้ประจำบ้าน ก็จะช่วยให้คนครอบครัวนั้น มีจิตใจที่บริสุทธิ์ สะอาด และเบิกบานแจ่มใส เช่นเดียวกับดอกบัว และยังเชื่ออีกว่า สายใยของบัวที่ยืดยาวนั้น คือสายสัมพันธ์ของครอบครัว จะทำให้ทุกคนมีความห่วงใยรักใคร่ และผูกพันต่อกันอย่างแนบแน่น ครอบครัวนั้น ก็จะมีแต่ความสุข เพราะความรักใคร่ปรองดองของคนในครอบครัวทุกคนควรปลูกต้นบัวในวันพุธ เพราะวันพุธนั้น เหมาะสำหรับการปลูกต้นไม้ที่ให้ดอกสวยงาม ต้นบัวที่ปลูกในวันพุธ จะทำให้บัวผลิดอกบานสะพรั่งงดงามไปทั่วทั้งสระ ผู้ที่เหมาะที่จะปลูกบัวมากที่สุด คือ ผู้ที่เกิดปีจอ เพราะดอกบัวนั้น เป็นต้นไม้ประจำปีของคนเกิดปีจอ หากผู้ที่เกิดปีจอเป็นผู้ปลูก และมีผู้ที่เกิดปีเดียวกันอาศัยอยู่ภายในบ้าน ก็จะช่วยเพิ่มความเป็นสิริมงคลให้มากยิ่งขึ้นไปอีก (ถ้าไม่มีผู้ที่เกิดปีจอ ก็ควรให้หัวหน้าครอบครัวเป็นผู้ปลูกก็ได้)
ชนิด
บัวที่พบและนิยมปลูกในประเทศไทย มาจาก 3 สกุล คือ
- บัวหลวง (lotus) เป็นบัวในสกุล Nelumbo มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า ปทุมชาติ หรือบัวหลวง
- บัวผัน, บัวสาย (waterlily) เป็นบัวในสกุล Nymphaea มีลำต้นใต้ดินเป็นหัว หรือเหง้า ใบและดอกเกิดจากตาหรือหน่อที่เจริญขึ้นมาที่ผิวน้ำด้วยก้านส่งใบและยอด
- บัววิกตอเรีย (Victoria) เป็นบัวในสกุล Victoria มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า บัวกระด้ง จัดเป็นบัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
การดูแลรักษา
ปลูกบัวทางทิศตะวันตก เจริญงอกงามมากกว่าการปลูกบัวทางทิศอื่นๆ
1. บัวสาย ชื่อสามัญ Lotus stem, Water lily, Red indian water lily
บัวสาย ชื่อวิทยาศาสตร์ Nymphaea pubescens Willd.[4],[7] (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Nymphaea lotus var. pubescens (Willd.) Hook. f. & Thomson)[1],[3],[5],[8] จัดอยู่ในวงศ์บัวสาย (NYMPHAEACEAE)[1],[2]
สมุนไพรบัวสาย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า บัวสายกิน, บัวกินสาย, สายบัว, บัวขม, บัวขี้แพะ, บัวแดง, บัวสายสีชมพู, บัวจงกลนี, จงกลนี, สัตตบรรณ, สัตตบุษย์, ปริก, ป้าน, ป้านแดง, รัตอุบล, เศวตอุบล[1],[2],[4],[5] และยังมีชื่อเรียกต่างกันไปตามสีของดอก โดยดอกสีชมพูจะเรียก ลินจง หากเป็นดอกสีขาวจะเรียก กมุท กุมุท โกมุท เศวตอุบล และถ้าดอกเป็นสีม่วงแดงจะเรียกว่า สัตตบรรณ รัตนอุบล[4]
ลักษณะของบัวสาย
- ต้นบัวสาย บัวสายนั้นมีถิ่นกำเนิดในเขตที่ราบลุ่มของทวีปเอเชีย ซึ่งรวมไปถึงประเทศไทยด้วย จึงเป็นพืชพื้นบ้านดั้งเดิมที่คนไทยรู้จักคุ้นเคยมาเนิ่นนานแล้ว[3] จัดเป็นพืชน้ำอายุหลายปี เป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมของไทย มีเหง้าอยู่ใต้ดินรากฝักอยู่ในโคลนเลน ก้านอยู่ใต้น้ำ ส่วนก้านดอกอ่อนมีเปลือกลอกออกได้เป็นสายใย ผิวเกลี้ยงและไม่มีหนาม เจริญเติบโตได้ในดินเหนียวที่มีอินทรียวัตถุสูง และเจริญเติบโตได้ดีในระดับน้ำลึกประมาณ 0.3-1 เมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เหง้าและเมล็ด[1],[4]
- ใบบัวสาย ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบมีลักษณะกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 25-30 เซนติเมตร ขอบใบหยักและแหลม ฐานหยักเว้าลึก หูใบเปิด ผิวใบอ่อนวางอยู่บนผิวน้ำ แผ่นใบด้านบนเรียบเป็นมัน มีสีเขียวเหลือบน้ำตาลอ่อนหรือสีแดงเลือดหมู ผิวใบด้านล่างของใบอ่อนเป็นสีม่วง ใบเมื่อแก่จะเป็นสีเขียว ผิวใบด้านล่างของใบแก่เป็นสีน้ำตาลมีขนนุ่ม ๆ เส้นใบใหญ่นูน ส่วนก้านใบมีสีน้ำตาลอมเขียวอ่อน มีลักษณะค่อนข้างเปราะ ข้างในก้านใบเป็นรูอากาศ
- ดอกบัวสาย มีอยู่ด้วยกันหลายสีแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิด เช่น ชนิดดอกสีชมพู ดอกขาว ดอกแดง ดอกม่วงแดง ดอกเหลือง ดอกเขียว ดอกคราม ดอกน้ำเงิน ฯลฯ[3],[4] ดอกมีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ เป็นสีเขียวเหลือบน้ำตาลแดง ส่วนดอกมีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลมถึงค่อนข้างกลม ดอกมีกลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนกันอยู่หลายชั้น (19 กลีบ) ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปหอกหลับ เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีความกว้างประมาณ 15-20 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้สีเหลืองเป็นสีตามกลีบดอก มีจำนวนมาก (60 อัน) มีลักษณะเป็นแผ่นแบนและแต่ละเกสรมีความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ส่วนอับเรณูเป็นร่องขนานตามยาว รังไข่มีขนาดใหญ่ติดกับชั้นของกลีบดอก ส่วนเกสรตัวเมียจะติดกับรังไข่ด้านบนตามแนวรัศมี และก้านดอกมีสีน้ำตาลอวบกลมส่งดอกลอยขึ้นสู่ผิวน้ำ (สายบัว) โดยดอกบัวสายจะบานในช่วงเวลาใกล้ค่ำถึงตอนสายของวันรุ่งขึ้นและจะหุบในเวลากลางวัน
- ผลบัวสาย ผลสดเรียกว่า “โตนด” มีเนื้อและเมล็ดลักษณะกลมจำนวนมาก เมล็ดมีขนาดเล็กสีดำอยู่ในเนื้อหุ้ม มีลักษณะเป็นวุ้นใส ๆ[1],[4]
- ช่วยบำรุงร่างกาย (หัว)[2]
- ช่วยบำรุงกำลัง (ดอก, เมล็ด)[2],[5]
- ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (หัว[2], เมล็ด[5])
- ช่วยบำรุงหัวใจ ทำให้สดชื่น (ดอก, หัว)[2],[5]
- ในประเทศฟิลิปปินส์มีการใช้รักษาโกโนเรีย แต่ไม่ได้ระบุส่วนที่ใช้ไว้ ด้วยการนำมาถูที่หน้าจะช่วยทำให้ง่วงนอน (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[8]
- ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง (สายบัว)[7]
- ดอกช่วยแก้ไข้ตัวร้อน (ดอก)[2]
- ช่วยแก้อาการร้อนใน (ดอก)[5]
- ก้านบัวสายมีรสจืดและเย็น ช่วยบรรเทาความร้อนในร่างกาย (ก้านบัว)[1],[2]
- สายบัวมีเบตาแคโรทีน ซึ่งช่วยป้องกันและต้านโรคมะเร็งในลำไส้ (สายบัว)[7]
- ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี (ดอก, หัว[2], เมล็ด[5])
- บัวขม จัดอยู่ใน “ตำรับยาพิกัดบัวพิเศษ” อันประกอบไปด้วยบัวขม บัวเผื่อน บัวหลวงขาว บัวหลวงแดง บัวสัตตบงกชขาว และบัวสัตตบงกชแดง ซึ่งเป็นตำรับยาที่ช่วยแก้ไข้อันเกิดเพื่อธาตุทั้งสี่ แก้ไข้ตัวร้อน แก้เสมหะ แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ แก้ลม และโลหิต ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ทำให้สดชื่น (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[8]
- ดอกบัวขมจัดอยู่ใน “ตำรับยาหอมเทพจิตร” โดยมีดอกบัวขมและสมุนไพรอื่น ๆ อีกหลายชนิดในตำรับ ซึ่งเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยแก้ลมกองละเอียด (อาการหน้ามืดตาลาย สวิงสวาย) แก้อาการใจสั่น และช่วยบำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น (ช่วยผ่อนคลายความเครียด ทำให้อารมณ์แจ่มใส สบายใจ หรือสุขใจ) (ดอก)[8]
- ก้านดอกและไหลใช้รับประทานได้ โดยนำก้านดอกหรือใบมาลอกผิวหรือเปลือกที่หุ้มอยู่ออกแล้วเด็ดดอกและใบทิ้ง แล้วนำมาใช้รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก หรือนำไปปรุงเป็นอาหาร เช่น การทำแกง ผัด แกงส้ม แกงกะทิ ฯลฯ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ทำขนมได้อีกด้วย[1],[3],[5]
- บัวสายสามารถใช้วัดความลึกของระดับน้ำบริเวณนั้นได้ เนื่องจากความยาวของก้านใบและก้านดอกจะมีเท่ากับความลึกของแหล่งน้ำ[3]
- เด็ก ๆ ในชนบทมักชอบเด็ดสายบัวเป็นท่อนสั้น ๆ ที่มีใยบัวติดกันอยู่ ใช้เป็นสร้อยคอหรือสร้อยข้อมือได้[3]
- ก้านดอกของบัวสายสามารถนำมาสกัดย้อมสีเส้นไหมได้ โดยจะให้สีเทา[6]
- นอกจากจะใช้รับประทานเป็นผักแล้ว บัวสายยังใช้ปลูกเป็นไม้ประดับสระน้ำได้เป็นอย่างดี เนื่องจากบัวสายมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด มีขนาดและสีของดอกที่แตกต่างกันออกไป อีกทั้งยังมีราคาไม่แพงและดูแลรักษาง่าย
- 2.บัวเผื่อน ชื่อสามัญ Water lily
- บัวเผื่อน ชื่อวิทยาศาสตร์ Nymphaea nouchali Burm.f. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Nymphaea stellata Willd.) จัดอยู่ในวงศ์บัวสาย (NYMPHAEACEAE)
- สมุนไพรบัวเผื่อน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น นิโลบล (กรุงเทพฯ), ป้านสังก่อน (เชียงใหม่), ปาลีโป๊ะ (มลายู นราธิวาส), บัวผัน บัวขาบ (ภาคกลาง), บัวแบ้ เป็นต้นบางครั้งนักวิทยาศาสตร์จะแบ่งแยกระหว่างบัวเผื่อนและบัวผันออกจากกันเป็น 2 ชนิด แต่บางครั้งก็บอกว่าเป็นชนิดเดียวกันแต่เป็นคนละสายพันธุ์ โดยบัวเผื่อนจะมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nymphaea stellata Wild. (สาเหตุที่เรียกว่าบัวเผื่อนนั้นมาจากสีของดอกเผื่อนระหว่างสีขาวครามและชมพูอ่อน) ส่วนบัวผัน จะมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nymphaea Cyanea Roxb. (บัวผันมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกเช่น นิลุบล นิลอุบล บัวนิล) ซึ่งสรรพคุณทางยาก็น่าจะเหมือนกัน
ลักษณะของบัวเผื่อน
- ต้นบัวเผื่อน เป็นพันธุ์ไม้น้ำคล้ายบัวสาย เป็นพืชที่มีอายุหลายปี มีเหง้าและไหลอยู่ใต้ดิน ส่วนใบและดอกจะขึ้นอยู่บนผิวน้ำ ขยายพันธุ์ด้วยการใช้หน่อหรือเหง้า และใช้เมล็ด พบกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยสามารถพบได้ตามหนองน้ำ บึงคลอง ริมแม่น้ำที่มีกระแสน้ำอ่อน และขอบพรุ
- ใบบัวเผื่อน ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันเป็นกลุ่ม แผ่นใบลอยอยู่บนผิวน้ำ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้าง ปลายใบทู่ถึงกลมมน ส่วนโคนเว้าลึก ขอบใบเรียงถึงหยักตื้น ๆ ใบมีความกว้างประมาณ 8-18 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร แผ่นใบสีเขียว ท้องใบสีเขียวอ่อนจนถึงสีม่วงจาง ผิวใบเกลี้ยง มีเส้นใบราว 10-15 เส้น แยกจากจุดเชื่อมกับก้านใบ ส่วนก้านใบมีความสั้นยาวไม่แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความลึกของน้ำเป็นหลัก แต่โดยทั่วไปแล้วจะมีความยาวประมาณ 0.5-2 เซนติเมตร
- ดอกบัวเผื่อน ดอกเป็นดอกเดี่ยว ขึ้นอยู่เหนือน้ำ ดอกมีสีขาวแกมชมพูถึงสีอ่อนคราม ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ถ้าดอกมีสีขาวแกมเหลือง ปลายกลีบดอกเป็นสีครามอ่อน แล้วเผื่อนเป็นสีขาวหรือปลายกลีบเป็นสีชมพูเมื่อใกล้โรย แต่ละดอกจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8-10 เซนติเมตร มีกลีบดอกซ้อนกัน 2-3 ชั้น ปลายกลีบแหลม มีเกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก รังไข่มีช่องประมาณ 10-20 ช่อง ฝังตัวแน่นอยู่ใต้แผ่นรองรับ ส่วนเกสรตัวเมียเป็นรูปถ้วย มีก้านดอกคล้ายกับก้านใบและมีความยาวไล่เลี่ยกัน สามารถออกดอกได้เกือบตลอดทั้งปี และดอกจะบานตอนช่วงสายและจะหุบตอนช่วงบ่าย ส่วนผลจะจมอยู่ใต้น้ำหลังจากการผสมเกสรแล้ว
- ดอกบัวเผื่อน มีกลีบดอกสีขาว ปลายกลีบดอกเป็นสีครามอ่อน แล้วเผื่อนเป็นสีขาวหรือเป็นสีชมพูเมื่อใกล้โรย
สรรพคุณของบัวเผื่อน
- ช่วยบำรุงกำลัง (ดอก, เมล็ด, หัว)
- เมล็ดใช้คั่วช่วยบำรุงร่างกาย (เมล็ด, หัว)
- ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (เมล็ด, หัว)
- ช่วยบำรุงหัวใจ (ดอก, เมล็ด, หัว)
- ช่วยแก้ไข้ตัวร้อน (ดอก)
- ช่วยบำรุงครรภ์ (ดอก, หัว)
- ในตำราสมุนไพรไทย บัวเผื่อนถูกจัดให้อยู่ในตำรับยา “พิกัดบัวพิเศษ” ซึ่งประกอบไปด้วย บัวเผื่อน, บัวขม, บัวหลวงแดง, บัวหลวงขาว, บัวสัตตบงกชแดง, และบัวสัตตบงกชขาว ซึ่งมีสรรพคุณช่วยแก้ไข้อันเกิดเพื่อธาตุทั้ง 4 ช่วยขับเสมหะ แก้ไข้ตัวร้อน อาการร้อนในกระหายน้ำ แก้ลม ช่วยบำรุงโลหิต บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น และช่วยบำรุงครรภ์ (ดอก)
- ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ดอกบัวเผื่อนเป็นส่วนประกอบในตำรับยากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิตหรือตำรับยา “ยาหอมเทพจิตร” โดยมีดอกบัวเผื่อนเป็นส่วนประกอบร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกหลายชนิด ซึ่งมีสรรพคุณช่วยแก้ลมกองละเอียด หรืออาการหน้ามืดตาลาย แก้อาการสวิงสวาย (อาการใจหวิว วิงเวียน คลื่นไส้ ตาพร่าจะเป็นลม), แก้อาการใจสั่น, และช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น ทำให้สุขใจ สบายใจ ช่วยคลายเครียด ทำให้มีอารมณ์แจ่มใส (ดอก)
- สาร Nymphagol จากดอกบัวเผื่อน มีฤทธิ์ในการช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยเพิ่มระดับอินซูลินในหนูทดลองได้ (ดอก)
- สารสกัดจากดอกบัวเผื่อน มีฤทธิ์ช่วยปกป้องตับหนูจากการถูกทำลายด้วยสารคาร์บอนเตตระคลอไรด์ (ดอก)
- บัวเผื่อน ชื่อสามัญ Water lilyบัวเผื่อน ชื่อวิทยาศาสตร์ Nymphaea nouchali Burm.f. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Nymphaea stellata Willd.) จัดอยู่ในวงศ์บัวสาย (NYMPHAEACEAE)สมุนไพรบัวเผื่อน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น นิโลบล (กรุงเทพฯ), ป้านสังก่อน (เชียงใหม่), ปาลีโป๊ะ (มลายู นราธิวาส), บัวผัน บัวขาบ (ภาคกลาง), บัวแบ้ เป็นต้นบางครั้งนักวิทยาศาสตร์จะแบ่งแยกระหว่างบัวเผื่อนและบัวผันออกจากกันเป็น 2 ชนิด แต่บางครั้งก็บอกว่าเป็นชนิดเดียวกันแต่เป็นคนละสายพันธุ์ โดยบัวเผื่อนจะมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nymphaea stellata Wild. (สาเหตุที่เรียกว่าบัวเผื่อนนั้นมาจากสีของดอกเผื่อนระหว่างสีขาวครามและชมพูอ่อน) ส่วนบัวผัน จะมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nymphaea Cyanea Roxb. (บัวผันมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกเช่น นิลุบล นิลอุบล บัวนิล) ซึ่งสรรพคุณทางยาก็น่าจะเหมือนกัน
ลักษณะของบัวเผื่อน
- ต้นบัวเผื่อน เป็นพันธุ์ไม้น้ำคล้ายบัวสาย เป็นพืชที่มีอายุหลายปี มีเหง้าและไหลอยู่ใต้ดิน ส่วนใบและดอกจะขึ้นอยู่บนผิวน้ำ ขยายพันธุ์ด้วยการใช้หน่อหรือเหง้า และใช้เมล็ด พบกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยสามารถพบได้ตามหนองน้ำ บึงคลอง ริมแม่น้ำที่มีกระแสน้ำอ่อน และขอบพรุ
- ใบบัวเผื่อน ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันเป็นกลุ่ม แผ่นใบลอยอยู่บนผิวน้ำ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้าง ปลายใบทู่ถึงกลมมน ส่วนโคนเว้าลึก ขอบใบเรียงถึงหยักตื้น ๆ ใบมีความกว้างประมาณ 8-18 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร แผ่นใบสีเขียว ท้องใบสีเขียวอ่อนจนถึงสีม่วงจาง ผิวใบเกลี้ยง มีเส้นใบราว 10-15 เส้น แยกจากจุดเชื่อมกับก้านใบ ส่วนก้านใบมีความสั้นยาวไม่แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความลึกของน้ำเป็นหลัก แต่โดยทั่วไปแล้วจะมีความยาวประมาณ 0.5-2 เซนติเมตร
- ดอกบัวเผื่อน ดอกเป็นดอกเดี่ยว ขึ้นอยู่เหนือน้ำ ดอกมีสีขาวแกมชมพูถึงสีอ่อนคราม ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ถ้าดอกมีสีขาวแกมเหลือง ปลายกลีบดอกเป็นสีครามอ่อน แล้วเผื่อนเป็นสีขาวหรือปลายกลีบเป็นสีชมพูเมื่อใกล้โรย แต่ละดอกจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8-10 เซนติเมตร มีกลีบดอกซ้อนกัน 2-3 ชั้น ปลายกลีบแหลม มีเกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก รังไข่มีช่องประมาณ 10-20 ช่อง ฝังตัวแน่นอยู่ใต้แผ่นรองรับ ส่วนเกสรตัวเมียเป็นรูปถ้วย มีก้านดอกคล้ายกับก้านใบและมีความยาวไล่เลี่ยกัน สามารถออกดอกได้เกือบตลอดทั้งปี และดอกจะบานตอนช่วงสายและจะหุบตอนช่วงบ่าย ส่วนผลจะจมอยู่ใต้น้ำหลังจากการผสมเกสรแล้ว
- ดอกบัวเผื่อน มีกลีบดอกสีขาว ปลายกลีบดอกเป็นสีครามอ่อน แล้วเผื่อนเป็นสีขาวหรือเป็นสีชมพูเมื่อใกล้โรย
- 3. บัวหลวง ชื่อสามัญ Lotus, Sacred lotus, Egyptian lotusบัวหลวง ชื่อวิทยาศาสตร์ Nelumbo nucifera Gaertn. จัดอยู่ในวงศ์บัวหลวง (NELUMBONACEAE)[1],[2],[3],[6]สมุนไพรบัวหลวง มีชื่อเรียกอื่น ๆ ว่า โกกระณต, บัว, บัวอุบล, บัวฉัตรขาว, บัวฉัตรชมพู, บัวฉัตรสีชมพู, บุณฑริก, ปุณฑริก, ปทุม, ปัทมา, สัตตบงกช, สัตตบุษย์, โช้ค (เขมร) เป็นต้น[2],[3],[4]นอกจากนี้บัวหลวงยังมีอยู่ด้วยกันหลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งต่างก็มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปตามขนาดและลักษณะของดอก ได้แก่
- ดอกสีชมพู จะเรียกว่า โกกระณต ปทุม ปัทมา[3]
- ดอกสีขาว จะเรียกว่า บุณฑริก ปุณฑริก[3]
- ดอกเล็กสีชมพู จะเรียกว่า บัวเข็มชมพู บัวปักกิ่งชมพู บัวหลวงจีนชมพู[3]
- ดอกเล็กสีขาว จะเรียกว่า บัวเข็มขาว บัวปักกิ่งขาว บัวหลวงจีนขาว[3]
- ดอกสั้นป้อมสีชมพูกลีบซ้อน จะเรียกว่า บัวฉัตรสีชมพู บัวสัตตบงกช[3]
- ดอกสั้นป้อมสีขาวกลีบซ้อน จะเรียกว่า บัวฉัตรขาว บัวสัตตบุษย์[3]
ลักษณะของบัวหลวง
- ต้นบัวหลวง จัดเป็นไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี ลำต้นมีทั้งเป็นเหง้าอยู่ใต้ดินและเป็นไหลอยู่เหนือดินใต้น้ำ ลักษณะของเหง้าเป็นท่อนยาว มีปล้องสีเหลืองอ่อนจนถึงสีเหลือง มีความแข็งเล็กน้อย หากตัดตามขวางจะเห็นเป็นรูปกลม ๆ อยู่หลายรู โดยส่วนของไหลจะเป็นส่วนเจริญไปเป็นต้นใหม่ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียว ในระดับน้ำลึก 30-50 เซนติเมตร และสามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดหรือวิธีการแยกไหล มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย[
- ใบบัวหลวง ใบเป็นใบเดี่ยว ใบอ่อนจะลอยปริ่มน้ำ ส่วนใบแก่แผ่นใบจะชูขึ้นเหนือน้ำ ลักษณะของใบเป็นรูปเกือบกลมและมีขนาดใหญ่ โดยมีขนาดประมาณ 50 เซนติเมตร ขอบใบเรียบและเป็นคลื่น ผิวใบด้านบนเป็นนวลเคลือบอยู่ ก้านใบจะติดอยู่ตรงกลางของแผ่นใบ ก้านใบมีลักษณะแข็งและเป็นหนาม หากตัดตามขวางจะเห็นรูอยู่ภายใน และก้านใบจะมีน้ำยางสีขาว เมื่อหักก้านจะมีสายใยสีขาว ๆ สำหรับใบอ่อนจะเป็นสีเทานวล ปลายจะม้วนงอขึ้นเข้าหากันทั้งสองด้าน[
- ดอกบัวหลวง ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว มีสีขาว สีชมพู มีกลิ่นหอม มีกลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ กลีบเลี้ยงมีขนาดเล็กและสีขาวอมเขียวหรือเป็นสีเทาอมชมพู ร่วงได้ง่าย ส่วนกลีบดอกจะมีจำนวนมากและเรียงซ้อนกันอยู่หลายชั้น ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปไข่กว้างประมาณ 5-6 เซนติเมตรและยาวประมาณ 7-9 เซนติเมตร เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดประมาณ 20-25 เซนติเมตร ในดอกจะมีเกสรตัวผู้สีเหลืองอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีความยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร และล้อมรอบอยู่บริเวณฐานรองดอกซึ่งมีลักษณะเป็นรูปกรวยหงาย หรือที่เรียกว่า “ฝักบัว” ที่ปลายอับเรณูจะมีระยางคล้ายกระบองเล็ก ๆ สีขาว ส่วนเกสรตัวเมียจะมีรังไข่ฝังอยู่ในฐานรองดอก เมื่ออ่อนเป็นสีเหลือง หากแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเขียว ช่องรังไข่จะเรียงเป็นวงบนผิวหน้าตัด มีจำนวน 5-15 อัน ส่วนก้านดอกมีสีเขียว ลักษณะยาวและมีหนามเหมือนก้านใบ โดยก้านดอกจะชูขึ้นเหนือน้ำและชูขึ้นสูงกว่าก้านใบเล็กน้อย ดอกบัวหลวงจะเริ่มบานในตอนเช้า โดยจะออกดอกและผลในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม (ดอกมีสารอัลคาลอยด์ (alkaloids) ชื่อ nelumbine ส่วน Embryo มี lotusine ส่วนเกสรมีสารฟลาโวนอยด์หลายชนิด เช่น quercetin, isoquercitrin, luteolin, luteolin glucoside และยังพบว่ามีสารอัลคาลอยด์ด้วย)
- ฝักบัวหลวง ในฝักมีผลอ่อนสีเขียวนวลจำนวนมาก ผลจะฝังอยู่ในส่วนที่เป็นฝักรูปกรวยในดอก ในรูปกรวยของดอกนั้นเมื่ออ่อนจะเป็นสีเหลือง เมื่อแก่แล้วจะขยายใหญ่ขึ้นและเปลี่ยนเป็นสีเทาอมเขียว โดยจะมีผลสีเขียวอ่อนฝังอยู่ในฝักรูปกรวยเป็นจำนวนมาก[1]
4.บัวฝรั่ง
- บัวอาจจะพักตัวหรือไม่ก็ได้ ถ้าอากาศไม่หนาวเกินไป อีกปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือความเย็นของน้ำที่ปลูกบัว ปกติบัวสามารถเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิระหว่าง 20-30 องศาเซลเซียส ณ จุดยอด (Crown) ของบัวใต้น้ำ ถ้าอุณหภูมิลดต่ำหรือสูงขึ้นประมาณ 5 องศาเซลเซียส บัวจะเจริญเติบโตอยู่ได้ แต่ไม่งามการขยายพันธุ์: แยกหน่อหรือเหง้าส่วนที่มีกลิ่นหอม: ดอก ขึ้นอยู่กับชนิดการใช้ประโยชน์: ไม้ประดับถิ่นกำเนิด: ฝรั่งเศส และประเทศทางแถบยุโรป
- 5.บัววิกตอเรีย หรือ บัวกระด้ง (อังกฤษ: Victoria waterlily) เป็นบัวในสกุล Victoria จัดเป็นบัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีลำต้นใต้ดินเป็นหัวใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ประมาณ 6 ฟุต ลอยบนผิวน้ำ ใบอ่อนมีสีแดงคล้ำเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม ขอบใบยกขึ้นตั้งตรง มีหนามแหลมตามก้านใบและผิวใบด้านล่าง ก้านดอกและกลีบเลี้ยงด้านนอกมีหนามแหลม ดอกเป็นดอกเดี่ยวขนาดใหญ่ ดอกแรกบานจะมีสีขาว จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นสีขาวอมชมพู และเป็นสีแดงเรื่อในที่สุด บานเวลาใกล้ค่ำ หรือกลางคืน มีกลิ่นหอม และจะหุบในตอนสายของวันรุ่งขึ้น
สายพันธุ์[แก้]
- บัววิกตอเรีย อมาโซนิกา (Victoria amazonica) เป็นสายพันธุ์หนึ่งของ บัววิกตอเรีย ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 3 เมตร ก้านบัวยาว 7-8 เมตร พบอยู่ทั่วไปตามหนองน้ำตื้น ๆ ของแม่น้ำอะเมซอน วันที่ออกดอกวันแรกจะมีสีขาว แต่พอเข้าวันที่สองจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู[1]
- บัววิกตอเรีย สายพันธุ์อังกฤษ (Victoria cruziana) เป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กกว่า คือมีเส้นผ่านสูนย์กลางราว 1.5 เมตร แต่มีขอบกระด้งสูงราว 1 คืบ ออกดอกในช่วงปลายฤดูร้อนต่อต้นฤดูฝน คือ ในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายบัวกระด้ง หรือเรียก บัววิคตอเรีย ( Royal water-lily, Victoria ) เป็นบัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสายพันธุ์บัวทุกชนิด มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ จัดเป็นพืชน้ำล้มลุกที่มีรากอวบขาวจำนวนวนมาก และลำต้นหรือเรียกหัวบัวอยู่ในดินใต้น้ำ มีก้านใบแทงผ่านน้ำ และมีหนามยาวทั่วก้าน และส่วนใบที่อยู่เหนือน้ำ ใบมีลักษณะวงกลม กว้างประมาณ 1-2 เมตร ขอบใบตั้งขึ้นเหมือนกระด้ง สูง 2-4 นิ้ว จึงเป็นชื่อที่คนไทยเรียกว่า บัวกระด้ง ใบด้านบนที่เป็นใบอ่อนจะมีลักษณะสีน้ำตาล ใบด้านบนที่เป็นใบแก่จะมีสีเขียวสด สีใบด้านล่างจะมีสีน้ำตาลแดง และตั้งแต่ส่วนที่พับเป็นขอบจนถึงส่วนด้านล่างใบที่อยู่ในน้ำจะมีหนามทั่วทั้งใบดอกมีสีขาว และเปลี่ยนเป็นสีชมพู ชมพูเข้ม จนถึงม่วงแดง ตามอายุของดอก ผิวของกาบดอกที่หุ้มดอกจะมีหนาม เมื่อบานกาบดอกจะลอยบนน้ำ และชูดอกบานไว้ด้านบน ดอกจะบานในช่วงพลบค่ำจนถึงรุ่งเช้า และส่งกลิ่นหอมเมื่อเข้าใกล้เมล็ดจะอยู่ในฝักบัว เมล็ดอ่อนจะมีสีขาว ต่อมาเป็นสีเขียว และเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลจนถึงแก่จัดจะออกดำ ขนาดเมล็ดประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร เมล็ดที่แก่จะใช้สำหรับการเพาะขยายพันธุ์
ดอกมีองค์ประกอบทางเคมี ประกอบไปด้วย 1,2,3,4,6-Pentagalloylglucose, myricetin-3-O-rhamnoside (myricitrin), myricetin-30-O-(600-p-coumaroyl) glucoside, nympholide A, nympholide B[8]
สรรพคุณของบัวสาย
หมายเหตุ : สำหรับวิธีการใช้หัว ให้ใช้หัวบัวสายประมาณ 30 กรัม ใส่น้ำ 1 ลิตร ต้มนานประมาณ 15 นาที แล้วนำมาดื่มก่อนอาหารครั้งละครึ่งถ้วยกาแฟวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น[2]
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น